วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย การสร้างเสริมสุขภาพ และ การป้องกันโรค

ภูมิปัญญา


ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมากมายหลายแขนง แต่มักจะถูกมองว่าล้าหลัง คนบางกลุ่มจึงไม่ค่อยให้ความนิยมและสืบสานกันมากนัก ส่วนใหญ่แล้วภูมิปัญญาท้องถิ่นมักสืบทอดบอกกล่าวกันเป็นการภายใน เช่น สูตรทำอาหาร หรือตำรับตำราต่าง ๆ ทำให้ไม่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป อาจจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 10 ลักษณะได้ดังนี้
  1. ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา - ภูมิปัญญาประเภทนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากมีพื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกัน สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเป็น หลักนั้นได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคม โดยการผสมผสานกับความเชื่อดังเดิมจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น
  2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม - เนื่องจากประเพณีและพิธีกรรมเป็นสิ่งที่ดีงามที่คนในท้องถิ่นสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจคนในสังคม ภูมิปัญญาประเภทนี้จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมากดัง จะเห็นได้จากประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญในประเทศไทยล้วนเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินชีวิตของคนในสังคมแทบทั้งสิ้น
  3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน - เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปต่างๆโดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันหลังจากนั้นได้สืบทอดโดยการพัฒนาอย่างไม่ขาดสายกลายเป็นศิลปะ ที่มีคุณค่าเฉพาะถิ่น
  4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน - นอกจากมนุษย์จะนำอาหารมาบริโภคเพื่อการอยู่รอดแล้ว มนุษย์ยังได้นำเทคนิคการถนอมอาหารและการปรุงอาหารมาใช้ เพื่อให้อาหารที่มีมากเกินความต้องการสามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเวลานาน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังนำผักพื้นบ้านชนิดต่างๆมาบริโภคอีกด้วย
  5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน - การละเล่นถือว่าเป็นการผ่อนคลายโดยเฉพาะในวัยเด็กซึ่งชอบความสนุกสนานเพลิด เพลิน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ในการละเล่นที่ประดิษฐ์มาจาก ธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างกลมกลืน
  6. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม - ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของแต่ละภาคเราสามารถพบหลักฐานจากร่องรอยของศิลป วัฒนธรรมที่ปรากฏกระจายอยู่ทั่วไป เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคนิค ความคิด ความเชื่อของบรรพบุรุษเป็นอย่างดี
  7. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้ส่วนมากแสดงออกถึงความสนุกสนาน และยังเป็นคติสอนใจสำหรับคนในสังคม ซึ่งมีส่วนแตกต่างกันออกไปตามโลกทัศน์ของคนในภาคต่างๆ
  8. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสมุนไพรและตำรายาพื้นบ้าน - ภูมิปัญญาประเภทนี้เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ของคนในอดีตและถ่ายทอดให้กับ คนรุ่นหลังถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้
  9. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการประดิษฐกรรม - เทคโนโลยีและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละภาคนั้นถือเป็นการประดิษฐกรรมและ หัตถกรรมชั้นเยี่ยม ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับความสนใจในการพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาประเภทนี้เท่า ที่ควร หากมีการเรียนรู้และสืบทอดความคิดเกี่ยบกับการประดิษฐกรรมและหัตถกรรมให้แก่ เยาวชน จะเป็นการรักษาภูมิปัญญาของบรรพชนได้อีกทางหนึ่ง
  10. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ - เนื่องจากคนไทยมีอาชีพที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา ทำไร่ จึงทำให้เกิดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อ แก้ปัญหาหรืออ้อนวอนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกและเพื่อเพิ่ม ผลิตผลทางการเกษตรดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเกษตรทั่วทุก ภูมิภาคของไทย
สร้างเสริมสุขภาพ
  หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง  เจริญเติบโตปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
การส่งเสริมสุขภาพหรือการสร้างเสริมสุขภาพ  เป็นกระบวนการที่มีลักษณะดังนี้
        1. เน้นกิจกรรมพลายลักษณะที่มุงสร้างสมรรถนะของการสร้างสุขภาพดีควบคุมปัจจัย เสี่ยง  และเป็นกระบวนการที่มุ่งดำเนินการกันทั้งบุคคลและสังคม
        2.        เน้นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง
หลักการส่งเสริมสุขภาพ  
          การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่ายึดติดกับความสะดวกสบายมากเกินไป  พักผ่อนให้เพียงพอและฝึกการปฏิบัติทางจิตเพื่อลดความตึงเครียด เป็นต้น        
       วิธีการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองสามรถปฏิบัติได้ดังนี้
        1.        รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทาสงโภชนาการหลากหลายไม่ซ้ำซาก  โดยเฉพาะผักผลไม้ควรมีทุกมื้อ
        2.        ออกกำลังสม่ำเสมอ  ทำจิตใจให้เบิกบาน  จะช่วยคลายความเครียดและป้องกันภาวะเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับข้อต่อ        
        กระดูก และโรคหัวใจ  รวมทั้งระบบการไหลเวียนของโลหิต
        3.        ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือการนวดเพื่อสุขภาพเพื่อผ่อนคลายความเครียด
        4.        ละเว้นสารเสพติดทุกชนิดที่จะบั่นทอนสุขภาพ
        5.        หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
        6.        ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีมาก
        วิธีการลดความเสี่ยงทางสุขภาพ  ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
        1.        ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติโรคควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค        2.        รักษาความสะอาดของใช้ต่างๆ
        3.        ไม่คุลกคลีกับผู้ป่วย  4.        ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบ      5.        ออกกำลังสม่ำเสมอ
        6.        ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร หลังจากถ่ายอุจจาระ  7.        ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสุขภาพ
        8.        ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย        9.        ทำลายเชื้อโรคให้ถูกวิธี  กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
        10.        การควบคุมสุขาภิบาล  อาหาร  น้ำดื่ม  และน้ำนม        11.        จัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
        12.        ให้ความรู้อุบัติเหตุและการป้องกัน        13.        การจัดความปลอดภัยในทุกรูปแบบ
        14.        ออกกฎหมายบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
        การประเมินสุขภาพส่วนบุคคลของตนเองจะเป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้ มีสุขภาพดีที่ยั่งยืนตลอดไป  การประเมินสุขภาพส่วนบุคคลประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้
1.        ความสะอาดส่วนบุคคล    2.        การกินอาหารที่มีประโยชน     3.        การพักผ่อนให้เพียงพอ
4.        การวางท่าทางที่ถูกต้อง    5.        การออกกำลังกายพอสมควร     6.        การรู้จักรักษาความสะอาดของบ้านเรือนของตน
7.        การทำจิตใจให้ผ่องใส      8.        การรู้จักป้องกันอุบัติเหตุ          9.        การควบคุมและหาทางป้องกันโรคติดต่อ
10.        การตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ  11.        การสวมเสื้อผ้าและใช้ของใช้ที่สะอาด  และจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
12.        การมีความรู้เกี่ยวกับการที่จะรักษาสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง
 
โรคเบาหวาน

ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ทั่ว โลก และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี เมื่อเป็นเบาหวานระยะหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นทางระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไตเป็นต้นซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวานจะเป็นหนทางที่จะลดการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรก ซ้อน
แม้ว่าจะมีการพัฒนายาสำหรับรักษาโรคเบา หวานมาหลายปี แต่ก็ไม่สามารถที่จะลดโรคแทรกซ้อนได้เท่าที่ควร จึงทำให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์กังวลว่าการรักษาโรคเบาหวานเมื่อเป็นโรคจะ สายเกินไป การป้องกันโรคเบาหวานน่าจะเป็นหนทางป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ดีกว่าการรักษา สำหรับเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานจัดเป็นภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน ในกลุ่มนี้ก็มีหลักฐานว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง
มีรายงานการป้องกันโรคเบาหวานออกมา 4 รายงานโดย 2 รายงานจะใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยให้ลดน้ำหนักลง 5-8% ลดปริมาณไขมันที่รับประทานลงเหลือไม่เกิน 30% ลดไขมันอิ่มต่ำน้อยกว่า 10% เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารมากกว่า 15 กรัม/วัน ออกกำลังกายมากกว่า 150 นาที/สัปดาห์ ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดเบาหวานลงได้ร้อยละ 58 ส่วนอีก 2 รายงานใช้ยาในการป้องกันโรคเบาหวานผลสามารถลดอัตราการเกิดได้ร้อยละ 36-56 % จากรายงานดังกล่าวซึ่งได้ผลดีจึงได้กำหนดแนวทางในการป้องกันโรคเบาหวาน
เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน
  1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นโรคเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัวและประเทศ
  2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100-125 มก.%จะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงมาก
  3. มีการตรวจหาภาวะ prediabetic ซ่ึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มากและสามารถบ่งชี้การเป็นโรคเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือดและการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test
  4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพหากดูแลตัวเองได้ดี จะมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 58
  5. ค่าใช้จ่ายในการคัดกรองไม่แพง
ใครเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ประเทศอเมริกาเรียก prediabetes หมายถึงภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน)
จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมาสรุปว่ากลุ่มที่มีลักษณะดังนี้ต้องเข้ารับการตรวจเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นกลุ่ม prediabetes หรือไม่
  1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและดัชนีมวลกายมากกว่า 25 การคำนวนดัชนีมวลกายคลิกที่นี่
  2. ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25และพบภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย
สำหรับชาวเอเชียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย 23
กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานได้แก่
  1. เจาะเลือดตรวจน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีระดับน้ำตาล 100-125มก.%ถือเป็น prediabetes
  2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานน้ำตาลอยู่ระหว่าง 140-199 มก%ถือเป็น prediabetes
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ย(HA1C) อยู่ระหว่าง 5.7–6.4%
หากว่าท่านได้รับการตรวจแล้วจัดเป็น prediabetes ท่าน ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังนี้
วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน
วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ
  1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
  • ลดน้ำหนักลงให้ได้ 5-7 %จากน้ำหนักเบื้องต้นโดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ดัชนีมวลกายมากกว่า 23 สำหรับชาวเอเชีย)
  • ออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์โดยการเดินเร็วๆและแกว่งแขนแรง
  1. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีการใช้ยาเพื่อป้องกันเบาหวาน 3 ชนิดคือโดยการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • Metformin สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 31ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยอายุน้อย 20-44 ปีและอ้วนดัชนีมวลกายสูง
  • Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32
  • Troglitazone สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56
การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการเปลี่ยนพฤติกรรม
แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อนเนื่องสามารถการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 58%ขณะที่ใช้ยาลดได้เพียง 36% และการเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดในขณะที่การใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต้องใช้ต่อเนื่องอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาในอนาคต
สรุป
  1. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานท่านต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจว่าท่านเป็นภาวะ prediabetes หรือไม่
  2. หากท่านเป็น prediabetes ท่านจะต้องออกกำลังกายวันละ 30 นาที 5วันต่อสัปดาห์
  3. ท่านต้องคุมอาหารเพื่อให้น้ำหนักลดลง 5-7%